12 กุมภาพันธ์ 2557

ประวัติส่วนตัว



ประวัติส่วนตัว
                     

         ชื่อ นางสาว ภารดี           นามสกุล  กล้าหาญ  
เกิดวันพฤหัสบดี ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2535 อายุ 21 ปี   
กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี
ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์  เอกการประถมศึกษา หมู่เรียนที่ 1 รหัสประจำตัวนักศึกษา 534188029
         
         ที่อยู่ 142 หมู่ที่ 3 ต. เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
มีพี่น้อง 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน

งานอดิเรก: ดูโทรทัศน์  ฟังเพลง ทำงานบ้าน  ทำกับข้าว 
สีที่ชอบ: สีฟ้า สีชมพู  
อาหารที่ชอบ: ผัดซีอิ๊ว ผัดกระเพราหมูกรอบ
ผลไม้ที่ชอบ: สตรอเบอร์รี่ ส้ม องุ่น ฯลฯ สัตว์เลี้ยงที่ชอบ: สุนัข แมว
นิสัยส่วนตัว: เป็นคนพูดน้อย นิสัยดี ร่าเริง ไม่หยิ่ง
คติประจำใจ: ไม่ถึงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน

เทคนิคทำให้เด็กตั้งใจเรียน


ธรรมชาติของเด็กนั้นจะให้นั่งนิ่งๆ หรือมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานๆ เป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก ดังนั้นครูจึงต้องใช้เทคนิควิธีที่จะช่วยดึงสมาธิของเด็กให้กลับมาสนใจอยู่กับสิ่งที่ครูต้องการให้เด็กเรียน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวของเด็ก


ข้อแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยให้ครูเรียกสมาธิและความตั้งใจเรียนของเด็กให้กลับคืนมาได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ   

1.       ครูต้องแสดงออกถึงพลังและความกระตือรือร้นอยู่เสมอในเวลาที่อยู่กับเด็ก อาทิเช่น อย่าเอาแต่ยืนนิ่งๆ อยู่กับที่ ให้เดินไปเดินมาบ้างและคอยพูดคุยสื่อสารกับเด็กอยู่เสมอ ครูควรปฏิบัติทั้งสองเรื่องนี้ควบคู่กันไป พร้อมกับหากิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กทำ

2.       การเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมด้วย ไม่ควรยืนพูดหน้าชั้นอย่างเดียว และครูควรตั้งคำถามบ่อยๆ ทั้งคำถามที่ต้องการคำตอบและไม่ต้องการคำตอบ ในการสาธิตอะไรต่างๆ ให้เด็กดู ครูอาจเป็นคนเริ่มต้นคำถามโดยให้เด็กเป็นคนต่อจนจบ ครูอาจจะทำอะไรบางอย่างให้เด็กดู แล้วถามว่า ทำไมครูถึงทำอย่างนั้น?” มากกว่าการอธิบายเองทั้งหมด

3.       ครูควรทำสิ่งต่อไปนี้บ่อยๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ คือให้เด็กๆ เขยิบมานั่งใกล้ๆ ครูในขณะที่ครูกำลังจัดการเรียนการสอนหรือแสดงอะไรบางอย่างให้เด็กดู อาจให้เด็กนั่งขัดสมาธิบนพื้นก็ได้

4.       เมื่อเด็กตั้งคำถาม ให้ครูโยนลูกไปให้เพื่อนนักเรียนด้วยกันเป็นคนตอบ โดยครูควรแน่ใจว่าเด็กคนแรกที่ครูเรียกเป็นคนที่รู้คำตอบนั้นๆ ดี เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการเรียนรู้จากกันและกัน

5.       ให้ครูชี้ตัวเด็กเมื่อต้องการให้เด็กตอบคำถาม แทนที่จะใช้วิธีเรียกชื่อ เนื่องจากเด็กจะไม่สนใจเรียนจนกว่าจะได้ยินครูเรียกชื่อตนเอง การใช้วิธีชี้ตัวจะทำให้เด็กๆ ทุกคนในห้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องที่กำลังเรียน

6.       ในกิจกรรมที่ครูเคยเรียกเด็กให้ร่วมแสดงความเห็น ให้ครูเรียกเด็กคนนั้นซ้ำอีก มิเช่นนั้นเด็กที่ถูกเรียกให้ตอบหรือครูขอความเห็นแล้ว จะหมดความสนใจในการเรียนทันที การเรียกซ้ำจะช่วยให้เด็กตั้งใจเรียนต่อไป
หากเด็กคนใดแสดงท่าทีกระตือรือร้นอยากแสดงออก ครูควรมอบหมายให้เด็กเป็นคนรับผิดชอบงานบางอย่าง อาทิ การเล่นเกมในห้อง หรือการทำกิจกรรมบางอย่าง อย่างน้อยที่สุดเด็กคนดังกล่าวจะเรียนรู้ทักษะความรับผิดชอบ

7.       ในขณะที่ครูกำลังสาธิตหรือแสดงบางสิ่งให้เด็กกลุ่มหนึ่งดู ให้ครูตั้งคำถามหรือดึงเด็กจากกลุ่มอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วยโดยไม่ให้รู้ตัวล่วงหน้า เพื่อที่เด็กทุกกลุ่มจะได้ตั้งใจเรียนแม้ว่าครูจะไม่ได้สื่อสารกับกลุ่มเหล่านั้นโดยตรงก็ตาม

8.       เมื่อถึงเวลาที่ครูต้องเรียกเด็กๆ กลับมาประจำที่หลังจากที่ทำงานกลุ่มแล้ว วิธีที่ดีคือ ไม่ต้องใช้คำพูด แต่ให้ใช้สัญญาณดีดนิ้วให้จังหวะแทน เด็กบางคนจะเริ่มสังเกตสัญญาณดังกล่าวและปฏิบัติตาม ในไม่ช้าเด็กๆ ทั้งชั้นก็เรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามพร้อมกัน อย่างไรก็ดี ครูไม่ควรใช้วิธีปรบมือให้สัญญาณ เพราะเสียงจะดังเกินไปและอาจทำให้เด็กตกใจได้

9.       ครูไม่ควรผูกขาดการเรียกชื่อเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้เลือกเพื่อนในชั้นเรียนเองบ้างด้วย

10.   พยายามใช้ประโยชน์จากความรู้ที่เด็กมี เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เด็กหมดความสนใจในการเรียนคือ ครูมักคิดว่าเด็กอายุยังน้อยหรือมาจากครอบครัว/ชุมชนที่มีพื้นความรู้และประสบการณ์แตกต่างไปจากของครู หากครูรู้จักเลือกใช้ตัวอย่างจากโลกที่เด็กรู้จัก เด็กๆ จะเกิดความตื่นตัวที่จะเรียนรู้

11.   พยายามสื่อสารกับเด็กด้วยถ้อยคำที่เข้าใจง่าย อย่าทำให้เด็กเกิดความสับสนกับการใช้ศัพท์วิชาการยากๆ โดยครูควรเลือกใช้คำง่ายๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกันแทน

12.   เวลาที่ครูต้องพาเด็กออกไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน หมั่นเปลี่ยนวิธีเดินเรียงแถวทุกครั้ง เช่น อาจให้เด็กเดินตามลำดับความสูง ตามวันเกิด หรืออาจให้เด็กหญิงเดินสลับกับเด็กชาย เป็นต้น ในขณะที่เดิน ให้เด็กนับสิ่งต่างๆ ที่พบเจอรอบตัว เช่น รถยนต์ อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ ฯลฯ เพื่อฝึกทักษะด้านการสังเกตและด้านคณิตศาสตร์ไปในตัว

13.   บางครั้งครูไม่ควรให้ความสนใจจนเกินไปกับเด็กที่สร้างปัญหาในห้อง เช่น เด็กที่ชอบพูดคุย ยั่วแหย่เพื่อน ฯลฯ โดยเฉพาะหากการสนใจนั้นทำให้บรรยากาศของห้องเรียนทั้งหมดสะดุดลง หรือในกรณีที่ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวนมากกว่า 20 คนขึ้นไป วิธีที่ดีที่สุดประการหนึ่งคือพยายามให้เด็กทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียน บางครั้งเด็กอาจจะสร้างปัญหาบางอย่างขึ้นมาอีก แต่พฤติกรรมเช่นนี้จะเกิดขึ้นไม่นาน ถ้าเด็กเห็นว่าเพื่อนๆ กำลังเรียนสนุกและไม่สนใจตน


ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างและแนวทางที่ครูสามารถเลือกนำไปปฏิบัติเพื่อให้เด็กๆ ในห้องตั้งใจเรียนและเกิดสมาธิในการเล่าเรียนมากขึ้น ผลดีที่เกิดขึ้นคือนอกจากจะทำให้ครูเหนื่อยน้อยลงแล้ว ยังจะช่วยให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

ที่มา :  http://www.thaiteachers.tv/blog/kanchit/2014/2/69

ความหมายของคําว่า ครู Teacher


คำว่า ครู หรือ "TEACHERS"ในภาษาอังกฤษนั้น ตัวอักษรแต่ละตัวที่ผสมกันจนแแปลความหมายว่า "ครูนั้นสามารถบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครูที่ดีได้เป็นอย่างดี ดังนี้

T (Teaching)

หมายถึง ครูต้องมีหน้าที่หลักในการสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบในอนาคต ซึ่ง Gilbert Highet ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Art of Teaching ว่าครูที่สอนดี สอนเก่งต้องมีความรู้ลึกซึ้งในวิชาที่สอน ต้องมีอารมณ์ขัน มีความจำและกำลังใจดี มีลักษณะของผู้นำ เป็นผู้รักเด็ก มีใจเมตตามีความอดทนในการทำงาน เป็นผู้นำมากกว่าที่จะจ้องจับผิด มีความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก และสอนเด็กที่มีความสามารถต่างกันรวมกันได้

E (Ethics)

หมายถึง ครูต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมมีคุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติดี เป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์และสังคมทั่วไปได้ ครูในยุคนี้ถูกตั้งคำถามเรื่องจริยธรรมจากสังคมอาจจะเนื่องจากข่าวคราวที่ไม่ดีของครูบางคนที่ทำให้วงการครูมัวหมอง เช่นเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ค้ายาเสพติด ทุจริต เป็นต้น

A (Academic)

หมายถึงครูต้องเป็นนักวิชาการ ต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมให้กว้างขวางและทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะด้าน เนื่องจากมีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ เช่นเรื่องของนวัตกรรม เทคโนโลยี สภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งต้องมีความแม่นยำทางวิชาการอีกด้วย

C (Cultural Heritage)

หมายถึง ครูคือผู้มีหน้าที่ถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมอันดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ครูต้องเป็นผู้ปลูกฝังให้เด็กรักและภูมิใจในวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ฉะนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เป็นหน้าที่หลักของครูที่จะช่วยชี้แนะ อบรมสั่งสอน ขัดเกลาในแนวทางที่ถูกต้องอย่างเต็มความสามารถ

 

H (Human Relationship)

หมายถึง ครูต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานผู้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง มวลชนทั่วไป ครูที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีย่อมเป็นที่ยอมรับ ได้รับความร่วมมือในการทำงานจากทุกฝ่าย ดังนั้นจึงประสบความสำเร็จในอาชีพ มีความก้าวหน้าได้โดยไม่ยากนัก

E (Evaluation)

หมายถึง ครูต้องมีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในวิธีการประเมินการเรียนการสอนของตนเอง และผลการเรียนของลูกศิษย์ รู้จักใช้วิธีการประเมินผลที่เหมาะสมและทันสมัย รู้วิธีสร้างแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เพื่อการวัดผลและเกณฑ์การวัดคะแนนที่เที่ยงตรง เที่ยงธรรม เพราะถึงแม้ครูจะมีความรู้ดี สอนดี สอนเก่ง แต่ขาดวิธีการประเมินผลที่ดีที่เที่ยงตรงอาจเกิดความอยุติธรรมได้เช่นกัน

R (Research)

หมายถึง ครูต้องมีความสามารถทางด้านวิจัย ทั้งวิจัยเบื้องต้นและเบื้องลึก ต้องรู้จักสังเกตตั้งสมมติฐาน การเก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เช่น วิจัยเพื่อทราบกิจกรรมเสริมที่เด็กต้องการ วิจัยเรื่องจริยธรรมของครู เป็นต้น

S (Service)

หมายถึง ครูต้องเป็นผู้ให้บริการทางด้านการศึกษา และบริการด้านวิชาการและด้านอื่นๆ แก่สังคมทุกด้านอย่างเต็มความสามารถ เช่น บริการให้คำปรึกษาแก่ลูกศิษย์ แนะนำการศึกษานอกระบบ บริการวิชาการแก่สังคม บริการด้านพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เขียนบทความทางวิชาการ เป็นต้น
อยากให้ครูทุกคนลองสำรวจตนเองดู ว่าเป็นครูที่ดีมากน้อยแค่ไหน และยังขาดคุณสมบัติข้อไหนอีกบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงสำหรับการหรือพูดอีกนัยเป็นครูที่ดีอย่างแท้จริง"ครูมืออาชีพไม่ใช่แค่มี "อาชีพครูเพียงอย่างเดียว

ที่มา :  http://elearning.yru.ac.th/elearning/blog/index.php?filtertype=site&filterselect=1&tagid=4

บุคลิกภาพ


การแสดงออกสำหรับบุคลิกภาพที่ดี

เป็นการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมของบุคคล ได้แก่ มารยาท ท่าทาง การสำรวม ล้วนเป็นพฤติกรรมทั้งสิ้น บุคลิกภาพที่ดีคือ

1.       การแต่งกาย เป็นการแสดงออกทางด้านหนึ่งทางจิตใจเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ รสนิยมของแต่ละบุคคล การรู้จักการแต่งกายที่ดีให้เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความสะอาดเรียบร้อย เหมาะสมกับรูปร่าง จึงเป็นการแสดงออกถึงจิตใจที่ดี มีพื้นฐานการอบรมมาเป็นอย่างดีจากครอบครัว และสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ยังแสดงออกถึงความมีระเบียบ

2.       การมองบุคคล จะต้องใช้สายตาแสดงความเป็นมิตร ความมีเมตตา ความสุภาพ ซึ่งบุคคลที่พบเห็นก็จะแสดงความเป็นมิตรและให้การต้อนรับ

3.       การพูด เป็นการติดต่อสื่อสาร สื่อความหมายได้ดีที่สุด การพูดให้ผู้อื่นฟังเกิดความรู้สึกที่ดี มีความเข้าใจ และมีความสบายใจ ผู้พูดจึงต้องรู้จักศิลปะในการพูด รู้จักสภาวะของผู้ฟัง สามารถพูดชนะใจผู้ฟังได้

4.       การเดิน ควรจะเดินให้ดูแล้วสง่างาม กล่าวคือ เดินตัวตรง รู้จักจังหวะในการเดิน เดินอย่าให้มีเสียงดัง

5.       การยืน ควรยืนให้ดูมีลักษณะสวยงาม กล่าวคือ ยืนตัวตรง แขนวางลงข้างตัวตามธรรมชาติ การยืนจะต้องระวังไม่ค้ำศีรษะของบุคคลอื่น

6.       การนั่ง ในขณะที่นั่งบนเก้าอี้ ควรจะสำรวมกิริยาอาการให้มาก มองดูแล้วให้เห็นว่ามีความสุภาพ เช่น นั่งตัวตรง หัวเข่าแนบชิดกัน

7.       การไอหรือจาม จะต้องระมัดระวังให้มาก เมื่อจะไอหรือจาม จะต้องรู้จักใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากหรือปิดจมูก และจะต้องระมัดระวังไม่ให้ไปไอหรือจามรดหน้าผู้อื่น

8.       การรับประทานอาหาร ในขณะร่วมโต๊ะอาหาร ผู้ชายต้องให้เกียรติผู้หญิงโดยเชิญรับประทานอาหารและช่วยบริการช่วยตักอาหารส่งให้โดยใช้ช้อนกลาง หรือเมื่อต้องการจะตักอาหารที่อยู่ไกลและต้องผ่านหน้าบุคคลอื่น จะต้องกล่าวคำขอโทษก่อนแล้วค่อยใช้ช้อนกลางตัก ขณะรับประทานอาหาร ระงังอย่าให้หก อย่าเคี้ยวอาหารเสียงดัง อย่าคายเศษอาหารลงบนโต๊ะ อย่าพูดเวลามีอาหารอยู่ในปาก
การหยิบของหรือสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรเอื้อมมือหยิบผ่านหน้าหรือคร่อมศีรษะบุคคลอื่นที่อยู่ข้างหน้า จะต้องร้องขอด้วยคำพูดที่สุภาพ เพื่อขอให้บุคคลอื่นช่วยหยิบสิ่งของส่งให้ เมื่อได้รับแล้วจะต้องกล่าวคำว่าขอบคุณเสมอ

ที่มา :  http://www.baanjomyut.com/library/personality/14.html

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ 2


6. วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ( Total Physical Response Method ) แนวการสอนแบบนี้ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี

ลักษณะเด่น

          6.1ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู

          6.2ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง จนถึงระยะเวลาที่

นักเรียนสามารถพูดได้แล้ว จึงเรียนอ่านและเขียนต่อไป

          6.3ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์

มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคำสั่ง

          6.4นักเรียนจะข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู

          6.5ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียน

         7. วิธีการสอนแบบอภิปราย ( Discussion Method ) เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง

ลักษณะเด่น

         7.1ฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นกล้าพูด อย่างมีเหตุผล ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

         7.2ครูสร้างสถานการณ์ให้นักเรียนทำงานว่า สมมตินักเรียนจะเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา

5 วัน นักเรียนจะต้องเตรียมเครื่องใช้อะไรไปบ้าง ช่วยกันอภิปรายและสรุปผลออกมาเป็นรายงานส่งครู

เป็นต้น       

         8. วิธีการสอนแบบโครงการ ( Project Method ) เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ

ลักษณะเด่น

         8.1 นักเรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ และมีอิสระในการใช้ภาษาอย่างเต็มที่

         8.2ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของนักเรียนว่าดำเนินการ ความก้าว

หน้า อุปสรรคการประเมินผลงานใดบ้าง

         9. วิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ ( Community Language Learning )

ลักษณะเด่น

        9.1ยึดผู้เรียนเป็นหลัก นักเรียนแต่ละคนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรม

        9.2เน้นการพัฒนาความสัพพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน ทำให้ผู้เรียน

เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

       9.3ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษาเท่านั้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

       9.4เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การฝึกให้

ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ตามวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์

       9.5การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการ โดยให้นักเรียนประเมินตนเองดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน

       10. วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ( Communicative Approach ) จากข้อเท็จจริงพบว่าถึงแม้นักเรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้ นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร
            ดังนั้นการสอน จึงควรให้นักเรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้ และจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย

ที่มา :  http://www.l3nr.org/posts/283159

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ 1


รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ 10 แบบ

          ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการ และมีทฤษฎีการสอนหลากหลายวิธี ที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมนำไป ดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคน ดังวิธีสอนต่อไปนี้

         1.วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล ( Grammar Transalation ) เป็นวิธีการสอนที่เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน

ลักษณะเด่น

           1.1ครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ

           1.2ในด้านคำศัพท์ ครูจะสอนครั้งละหลายคำ บอกคำแปลภาษาไทย บางครั้งเขียนคำอ่านไว้ด้วย

           1.3ครูเน้นทักษะการอ่าน และการเขียน

           1.4ครูเน้นวัดผลด้านความรู้ ความจำ คำศัพท์ กฎเกณฑ์ ความสามารถในการแปล

           1.5ครูมีบทบาทสำคัญมากที่สุด

           1.6นักเรียนเป็นผู้รับฟัง และจดสิ่งที่ครูบอกลงในสมุด

           1.7นักเรียนจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ตลอดจนชื่อเฉพาะต่างๆ ทางไวยากรณ์นั้นๆ

           1.8นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเกณฑ์ไวยากรณ์นั้นๆ

           1.9นักเรียนได้ฝึกนำศัพท์มาใช้ในรูปประโยค

          2.วิธีสอนแบบตรง เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็จะสามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ไม่เน้นไวยากรณ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่

ลักษณะเด่น

           2.1ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนพูดโต้ตอบ

           2.2ครูสร้างสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อที่เอื้อต่อการเรียนการสอน

           2.3อธิบายคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ และใช้ตัวอย่างประกอบเป็นของจริง

           2.4การวัดผลเน้นทักษะการฟัง และพูด เช่น การเขียนตามคำบอก การปฏิบัติตามคำสั่ง

           3.วิธีสอนแบบฟัง-พูด ( Audio-Lingual Method ) เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีการสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบตามลำดับจากง่ายไปหายาก

ลักษณะเด่น

          3.1ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ

          3.2ครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดซ้ำๆกัน ในรูปแบบที่

แตกต่างกัน

         3.3ครูมุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคทางภาษาในห้องเรียนมากกว่าประโยชน์การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

          3.4นักเรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำๆ

          3.5นักเรียนเป็นผู้ลอกเลียนแบบ และปฏิบัติตามครูจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากจนเกิดเป็นนิสัย

สามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ

          4.วิธีการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบความรู้ความเข้าใจ ( Cognitive Code Learning Theory ) วิธีการสอนแบบนี้ยึดแนวคิดที่ว่า ภาษาเป็นระบบที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจในรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้

ลักษะเด่น

         4.1ครูมุ่งฝึกทักษะทุกด้านตั้งแต่เริ่มสอน โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฟังและพูดให้ดีก่อน แล้วจึงอ่านและเขียนตามวิธีสอนแบบฟัง-พูด ( Audio-Lingual Method )

         4.2ครูสอนเนื้อหาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างของนักเรียน ที่มีความสามารถในทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่แตกต่างกัน

          4.3สนับสนุนให้ผุ้เรียนใช้ความคิด สติปัญญา และมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

          4.4ใช้ภาษาไทยในการช่วยอธิบาย แต่อธิบายเฉพาะในเรื่องการฟังและพูด

          4.5การวัดและประเมินผลในด้านภาษาของนักเรียนนั้น คือ ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาแต่ละขั้นตอน

           5.วิธีการสอนตามเอกัตภาพ ( Individualized Instruction ) ในรูปแบบนี้ ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ

ลักษณะเด่น

           5.1การสอนเปลี่ยนจากครูเป็นหลัก กลายเป็นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

           5.2ครูพยายามให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล

ให้ได้มากที่สุด
           5.3ครูจะเตรียมสื่อ เอกสาร บทเรียน โปรแกรม ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและแนวคำตอบไว้ให้ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง